วันอังคารที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

แนะนำตัว


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สิ่งที่เหมือนกัน

พลังงานที่กำลังจะถูกนำมาใช้ทดแทนพลังงานแบบเดิมหรือเป็นพลังงานที่เป็นทางเลือกใหม่นอกเหนือจากที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน 

-ความเป็นไปได้ในการใช้พลังงานนิวเคลียร์ เพื่อผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความพร้อมด้านเทคโนโลยี การพัฒนาบุคลากร การออกกฎหมายการควบคุมดูแลความเป็นไปได้ในการขจัดและจัดการกากเชื้อเพลิง และการยอมรับจากประชาชน ฯลฯ
- พลังงานลม เช่น การใช้กังหันลมเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
- พลังงานน้ำ เช่น การใช้พลังงานศักย์ของน้ำในเขื่อนหมุนไดนาโมเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
- พลังงานแสงอาทิตย์ เช่น การผลิตไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซลาร์เซลล์
- พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง
- พลังงานความร้อนจากใต้พิภพ
- เชื้อเพลิงชีวภาพ



สิ่งที่ต่างกัน

-การนำพลังงานเซลล์สุริยะไปใช้ในชีวิตประจำวันว่า ประเทศไทยมีการนำพลังงานเซลล์สุริยะมาใช้ในครัวเรือนมากขึ้น  ซึ่งเป็นผลจากการสนับสนุนด้านนโยบายของภาครัฐทำให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของพลังงานทางเลือกมากขึ้น ในส่วนของราคาการติดตั้งนั้นปัจจุบันยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศทำให้มีราคาสูง
-
การหมุนเวียนเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ให้กลายเป็นสารเคมีหรือเชื้อเพลิงที่เราสามารถนำมาใช้ได้จริงด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งในประเทศไทยมีความเหมาะสมมากสำหรับการเก็บกักพลังงาน แสงอาทิตย์




อ้างอิง

http://www.balanceenergythai.com/%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B8%99-%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87/

http://www.thaibiotech.info/tag/%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD


http://www.chula.ac.th/th/archive/16048


วีดีโอสัมภาษณ์





ดิฉัน : พลังงานทางเลือกนี้ค่ะ คืออะไร แล้วก็มีอะไรบ้าง เห็นว่าหลายๆคนยังไม่ค่อยจะรู้จักกันอ่ะค่ะ

คุณภัทรภูมิ : พลังงานทางเลือกก็คือ พลังงานที่ไม่ใช่พลังงานหลักที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันนะครับ พลังงานทางเลือกเป็นพลังงานที่นอกเหนือจากน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ พวกนี้นะครับ ก็จะเป็นพวกพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานชีวมวล ถ่ายหินหรือนิวเคลียร์พวกนี้ครับ เพราะว่าที่เราต้องมีพลังงานทางเลือก เพราะว่าพลังงานหลักของเรา เริ่มจะลดน้อยถอยลงไป เราเลยต้องใช้พลังงานทางเลือกขึ้นมา

ดิฉัน : แล้วประเทศไทย มีการใช้พลังงานทางเลือกอะไรอยู่บ้างคะ

คุณภัทรภูมิ : ตอนนี้คือประเทศไทยก็จะมีพวกพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม  พลังงานถ่านหินที่ตอนนี้ภูเก็ตกำลังจะมีครับ แล้วก็พลังงานชีวมวลครับ ตอนนี้พลังงานชีวมวลเป็นพลังงานที่ใช้มากที่สุดในประเทศไทยนะครับ

ดิฉัน : ทำไมเราถึงต้องหันมาใช้พลังงานทางเลือกมากขึ้น

คุณภัทรภูมิ : อย่างที่กล่างมาข้างต้น ตั้งแต่แรกว่าพลังงานหลักที่ลดน้อยถอยลงไป เราเลยต้องใช้พลังงานอย่างอื่น มันจะมีพลังงานหมุนเวียนและพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป พลังงานที่ใช้แล้วหมดไปก็จะมีพวกถ่ายหิน ก๊าซธรรมชาติ พวกนี้ที่ใช้แล้วหมดไป มันไม่สามารถเกิดขึ้นใหม่ได้อีก ส่วนพลังงานที่เป็นพลังงานหมุนเวียนจะเป็นพวกแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลม พลังงานชีวมวล พลังงานชีวมวลก็คือก็อย่างเช่น เราปลูกต้นไม้ขึ้นมา ต้นอ้อยขึ้นมา เราเอาต้นอ้อยไปใช้ในการเผาไหม้ แล้วเราก็สามารถปลูกขึ้นมาใหม่ได้ แบบนี้เขาเรียกว่าพลังงานหมุนเวียน พวกแสงอาทิตย์แบบนี้ ก็คือพอกลางคืนปั๊บ เช้าก็มาใหม่แบบนี้ หมุนเวียนไปเรื่อยๆ

ดิฉัน : ค่ะ แล้วข้อดีของการที่เราประหยัดพลังงาน มีอะไรบ้างคะ

คุณภัทรภูมิ : ข้อดีหลักๆก็คือ ตอนนี้ประเทศไทยจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า  ตอนนี้ประเทศไทยใช้พลังงานไฟฟ้าสูงมาก ต้องนำเข้าจากประเทศพม่า เป็นต้น ถ้าเราลดการใช้พลังงานลง ภาระของประเทศก็จะลดลง แล้วก็จะทำให้มีงบประมาณไปใช้ในการพัฒนาอย่างอื่นมากขึ้น

ดิฉัน : ค่ะ แล้วผลเสียของการใช้พลังงานเยอะ มีอะไรบ้างคะ

คุณภัทรภูมิ : ผลเสียก็คือ อย่างแรกก็คือ เราก็ต้องจ่ายค่าไฟแพงขึ้น

ดิฉัน : ใช่ค่ะ แพงมาก(หัวเราะ)

คุณภัทรภูมิ : พอจ่ายค่าไฟแพง ประเทศไทยก็ต้องนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศเข้ามา ก็ทำให้ประเทศเสียดุลการค้า เช่น เราต้องนำเข้าพลังงาน แทนที่เราจะใช้เท่าที่มีอยู่ในประเทศแค่นั้นก็พอ

ดิฉัน : แล้วพลังงานทางเลือกที่มันรักษาสิ่งแวดล้อม คุณแชมป์อยากจะแนะนำพลังงานแบบไหนบ้างคะ

คุณภัทรภูมิ : ก็พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวมวล พลังงานชีวมวลส่วนมากจะเป็นในโรงงาน แต่ถ้าเป็นตามบ้านก็สามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์โซล่าเซล ใช้ช่วยลดภาระค่าไฟฟ้า ช่วยลดได้ผลที่ต่อทั้งเจ้าบ้านด้วยและรัฐบาลด้วย

ดิฉัน : และสิ่งแวดล้อมด้วยใช่ไหมคะ

คุณภัทรภูมิ : สิ่งแวดล้อมด้วย ใช่ครับ ไม่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

ดิฉัน : ค่ะ งั้นวันนี้ก็ขอจบการสัมภาษณ์เพียงเท่านี้ ขอบคุณคุณแชมป์มากนะคะ สวัสดีค่ะ




สรุปบทสัมภาษณ์ 

           พลังงานทางเลือกก็คือ พลังงานที่ไม่ใช่พลังงานหลักที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน พลังงานทางเลือกเป็นพลังงานที่นอกเหนือจากน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ก็จะเป็นพวกพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานชีวมวล ถ่ายหินหรือนิวเคลียร์  ตอนนี้ประเทศไทยใช้พลังงานไฟฟ้าสูงมาก ต้องนำเข้าจากประเทศพม่า เป็นต้น ถ้าเราลดการใช้พลังงานลง ภาระของประเทศก็จะลดลง แล้วก็จะทำให้มีงบประมาณไปใช้ในการพัฒนาอย่างอื่นมากขึ้น





แนะนำหนังสือ







พลังงานทางเลือก
     
             คำว่า"พลังงานทางเลือก" มาจากภาษาอังกฤษว่า"Alternative Energy" มีนัยถึงการแสวงหา "ทางเลือกใหม่" ของระบบพลังงานที่แตกต่างไปจากระบบพลังงานเดิมที่มีอยู่ ซึ่งกินความกว้างขวาง ไม่เฉพาะในเรื่องความแตกต่างของเชื้อเพลิงที่ใช้ แต่รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงระบบการจัดการ เช่น การเปลี่ยนจากระบบรวมศูนย์ที่เน้นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ไปสู่ระบบการจายศูนย์ที่เน้นโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก มีชุมชนและท้องถิ่นมาร่วมกันจัดการ แทนที่จะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรัฐเพียงฝ่ายเดียว

พลังงานทดแทน
         
            คำว่า"พลังงานทดแทน" มาจากรากศัพท์คำเดียวกับคำว่า" พลังงานทางเลือก" มักถูกใช้ในภาคราชการ เช่น กรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์ และมักมีความหมายที่เน้นไปทางเทคนิค
       
           ปัจจุบัน กรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์ได้รวมพลังงานนิวเคลียร์และพลังงานถ่านหินเข้าไว้ในพลังงานทดแทนด้วย เพราะถือว่าทดแทนการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ โดยมิได้คำนึงถึงความเหมาะสมในมิติอื่นๆ ทำให้องค์กรพัฒนาเอกชนหลายแห่งเลิกใช้คำนี้ไปแล้ว เพราะเป็นคำที่ถูกแย่งชิงนิยามความหมายไปในทางที่สนใจแต่ด้านเทคนิคอย่างเดียว เนื่องจากแนวคิดทางการจัดระบบไฟฟ้าของไทยเป็นลักษณะ"Predict and provide" หรือคาดการณ์ก่อนแล้วค่อยไปจัดหาไฟฟ้ามาให้ได้ตามที่คาดการณ์

         ดังนั้น การพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก ในการวางแผนระบบไฟฟ้าแบบไทยๆ เพราะจะเป็นตัวบอกว่า ในอนาคตประเทศไทยน่าจะมีความต้องการใช้ไฟฟ้าเท่าไหร่ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนนี้ เป็นตัวกำหนดว่า การสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ๆ จำนวนเท่าใด เพื่อให้เพียงพอกับปริมาณไฟฟ้าที่คาดการณ์ในอนาคต  ทั้งนี้ หากการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าถูกต้อง ก็มีส่วนช่วยให้การลงทุนในระบบไฟฟ้าเป็นไปอย่างเหมาะสม ไม่ขาดไม่เกิน แต่หากพยากรณ์น้อยกว่าความเป็นจริง ก็อาจจะทำให้การลงทุนในระบบไฟฟ้าไม่เพียงพอ กับความต้องการที่มากขึ้นในอนาคต  และในทางกลับกัน หากำยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้ามากเกินความเป็นจริง เราก็จะลงทุนในระบบไฟฟ้ามากเกินความจำเป็น  กลายเป็นภาระกับผู้บริโภคและระบบเศรษฐกิจได้

           ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา พบว่าการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าของไทย มักมีค่าเกินความเป็นจริงเสมอ และการพยากรณ์เกินจริงเช่นนี้ ยังทำให้เกิดการลงทุนล้นเกินในระบบไฟฟ้าของไทยอีกด้วย

            การจัดการด้านความต้องการใช้ไฟฟ้าเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2535 ในช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัวสูงและมีความต้องการไฟฟ้ามากขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นภาระต้นทุนในการจัดหาไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการ การจัดการด้านความต้องการไฟฟ้าจึงเป้นอีกทางเลือกหนึ่ง ในการลดความจำเป็นในการเกิดโรงไฟฟ้าใหม่ๆลงมาได้ ขณะเดียวกันก็ช่วยประหยัดเชื้อเพลิงที่จะสร้างภาระทางเศรษฐกิจและผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมไปในตัว โดยเมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว  การลดความต้องการใช้ไฟฟ้าลงไปหนึ่งหน่วย (เช่น หนึ่งเมกะวัตต์) จะมีต้นทุนต่ำกว่าการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่เป็นอย่างมาก ในทางปฏิบัติ การจัดการด้านความต้องการใช้ไฟฟ้าทำได้หลายวิธี ทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น  การลดความสูญเสียในกระบวนการผลิต การปรับช่วงเวลาในการปฏิบัติงานเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นในช่วงเวลาที่มีความต้องการในการใช้ไฟฟ้าสูงสุด

            นอกจากการจัดการด้านความต้องการในการใช้ไฟฟ้าแล้ว การจัดการด้านความต้องการในการลดความต้องการใช้น้ำ ลดความต้องการใช้เชื้อเพลิงได้อีกด้วย เพียงแต่อาจจะมีรายละเอียดทางเทคนิค แตกต่างกันไปบ้างเท่านั้นเอง


ชื่อผู้เขียน : เดชรัต  สุขกำเนิด
ชื่อหนังสือ : พลังงาน : งานที่มีพลัง
ปีที่พิมพ์ : 1 มีนาคม 2551
ชื่อโรงพิมพ์ : บริษัท ออฟเซ็ท ครีเอชั่น จำกัด








     

แนะนำตัว